ปวดข้อ
โรคข้อเสื่อมเป็นโรคที่พบว่ามีการสึกกร่อนของกระดูกอ่อน เนื่องจากมีปริมาณของโปรตีโอไกลแคน (proteoglycans) ลดลง ทำให้ความสามารถในการรองรับการเคลื่อนไหวของกระดูกข้อต่อลดลง เกิดอาการปวดขึ้นเมื่อมีการลงน้ำหนัก หรือมีกิจกรรมบนข้อนั้นๆ จากการเปลี่ยนแปลงของกระดูกอ่อนที่พบในผู้ป่วยโรคข้อเสื่อมดังกล่าวนี้ จึงทำให้เกิดแนวคิดในการนำเอากลูโคซามีนซึ่งเป็นสารตั้งต้นของการสร้างโปรตีโอไกลแคนที่เป็นองค์ประกอบในกระดูกอ่อนมาใช้เพื่อรักษาหรือชะลอการเสื่อมของข้อในโรคข้อเสื่อม กลูโคซามีน (glucosamine) เป็นสารประกอบประเภทน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว (monosaccharide) ที่ปกติถูกสร้าง และพบในร่างกายของทุกคนอยู่แล้ว กลูโคซามีนจะถูกนำไปใช้เป็นสารตั้งต้นในการสร้างสารขนาดโมเลกุลใหญ่ เช่น โปรตีโอไกลแคน, ไกลโคโปรตีน (glycoprotein), ไกลโคสามิโนไกลแคน (glycosaminoglycan), กรดไฮยาลูโรนิก (hyaluronic acid) สารเหล่านี้เป็นส่วนประกอบในเนื้อเยื่อเกือบทุกชนิดของร่างกาย โดยจะพบได้มากที่กระดูกอ่อน (cartilage)ซึ่งจะอยู่ที่บริเวณส่วนปลายของกระดูกโดยเฉพาะที่ข้อต่อ กระดูกอ่อนนั้นประกอบด้วยเมทริกซ์ของเส้นใยคอลลาเจนที่มีโปรตีโอไกลแคนอยู่ภายใน โดยโปรตีโอไกลแคนเป็นสารโมเลกุลใหญ่ที่มีความสามารถในการดึงน้ำเข้ามาหาตัวเองได้ดี จึงทำให้กระดูกอ่อนมีความยืดหยุ่น และสามารถรองรับการเคลื่อนไหวของกระดูกข้อต่อได้ ซึ่งจัดเป็นบทบาทสำคัญของกลูโคซามีนในเรื่องการทำงานของข้อ นอกจากนี้กลูโคซามีนยังมีผลยับยั้งการทำงานของสารอักเสบได้หลายชนิด จึงมีผลลดการอักเสบของข้อด้วย กลูโคซามีนที่มีจำหน่ายแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ตามการขึ้นทะเบียน คือ (1) ยาอันตราย และ (2) ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ซึ่งทั้งสองแบบมีความแตกต่างกันในขั้นตอนการยื่นขอขึ้นทะเบียน รวมถึงเอกสารที่จำเป็นในการขอขึ้นทะเบียน กล่าวคือ กลูโคซามีนที่ขึ้นทะเบียนเป็นยาอันตราย มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการรักษาโรคข้อเสื่อม ซึ่งจะต้องมีเอกสารยืนยันถึงการศึกษาทางการแพทย์ที่แสดงประสิทธิภาพและความปลอดภัยของสารดังกล่าว และการใช้ยาจะอยู่ภายใต้การสั่งใช้จากแพทย์เท่านั้น ส่วนกลูโคซามีนที่ขึ้นทะเบียนเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรงใช้รับประทาน นอกเหนือจากการรับประทานอาหารหลักตามปกติ และในการขอขึ้นทะเบียนไม่จำเป็นต้องแสดงการศึกษาทางการแพทย์ประกอบ สำหรับในประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุขได้อนุญาตให้มีกลูโคซามีนชนิดที่เป็นยาอันตรายเท่านั้นที่ได้รับการขึ้นทะเบียน และจำหน่ายในประเทศได้ ทั้งยาและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของกลูโคซามีนมีจำหน่ายในรูปแบบของสารประกอบเกลือหลายชนิด เช่น เกลือซัลเฟต (glucosamine sulfate), เกลือไฮโดรคลอไรด์ (glucosamine hydrochloride), เกลือคลอโรไฮเดรต (glucosamine chlorohydrate หรือ N-acetylglucosamine) ซึ่งทำให้ขนาดโมเลกุลและคุณสมบัติอื่นๆ ของกลูโคซามีนมีความแตกต่างกันไป เช่น ความคงตัวเมื่อทำเป็นผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ในผลิตภัณฑ์ของกลูโคซามีนซัลเฟตยังมีการเติมโซเดียม หรือโปแตสเซียมในสูตรตำรับ เพื่อทำให้ผลิตภัณฑ์มีความคงตัวเพิ่มขึ้น โดยกลูโคซามีนซัลเฟตเป็นกลูโคซามีนที่ขึ้นทะเบียนเป็นยาอันตรายและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ส่วนกลูโคซามีนในรูปแบบอื่นจะขึ้นทะเบียนเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ด้านประสิทธิภาพของกลูโคซามีนต่อโรคข้อเสื่อม พบว่าการศึกษาทางการแพทย์ขนาดใหญ่ส่วนมากเป็นการศึกษาโดยใช้กลูโคซามีนซัลเฟต (glucosamine sulfate) ที่ขึ้นทะเบียนเป็นยาอันตราย ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการให้ผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมได้รับกลูโคซามีนซัลเฟตในขนาด 1,500 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นเวลานาน 3 ปี ช่วยลดอาการปวด และช่วยลดการแคบของข้อได้เมื่อเปรียบเทียบกับการไม่ใช้ยา (หรือใช้ยาหลอก) แต่การใช้กลูโคซามีนซัลเฟตในระยะสั้น เช่น 3-6 เดือน พบว่าผลการศึกษามีทั้งสองแบบ คือ ให้ผลดีในการรักษา และไม่เห็นความแตกต่างในการรักษาเมื่อเปรียบเทียบกับการไม่ใช้ยา นอกจากนี้การศึกษาในผู้ป่วยข้อสะโพกเสื่อมก็ไม่แสดงประโยชน์เหนือกว่าการไม่ใช้ยาเช่นกัน สำหรับกลูโคซามีนในรูปแบบอื่นนั้น พบว่ามีการศึกษาทางการแพทย์บ้าง แต่เป็นเพียงการศึกษาขนาดเล็ก จำนวนผู้ป่วยที่ใช้ศึกษาน้อย เช่น การใช้กลูโคซามีนไฮโดรคลอไรด์ ซึ่งขึ้นทะเบียนเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม พบว่ากลูโคซามีนไฮโดรคลอไรด์ให้ประสิทธิภาพในการระงับปวดในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมได้ไม่แตกต่างจากกลูโคซามีนซัลเฟต จากข้อมูลการศึกษาทางการแพทย์ของกลูโคซามีนดังกล่าวข้างต้น แสดงให้เห็นว่าประสิทธิภาพของกลูโคซามีนในโรคข้อเสื่อมนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น รูปแบบเกลือของกลูโคซามีน ตำแหน่งข้อที่เกิดการเสื่อม ขนาดยาที่ใช้ ระยะเวลาในการใช้ ซึ่งผู้บริโภค/ผู้ป่วยที่มีความประสงค์จะรับประทานกลูโคซามีน โดยเฉพาะในรูปแบบของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่สามารถหาซื้อได้เองจากร้านขายยาทั่วไป ควรศึกษาข้อมูลของผลิตภัณฑ์ดังกล่าวให้เข้าใจ หรือปรึกษาแพทย์/เภสัชกรเพื่อให้เกิดความเข้าใจถึงประโยชน์ที่จะได้รับให้มากยิ่งขึ้น เพราะนอกจากประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้กลูโคซามีนแล้ว กลูโคซามีนในทุกรูปแบบยังมีข้อควรระวังและทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ได้ด้วย ดังนี้ - อาการไม่พึงประสงค์ที่พบได้บ่อยจากการรับประทานกลูโคซามีน คือ คลื่นไส้ ท้องเสีย แสบท้อง ปวดท้อง ท้องอืด นอกจากนี้ยังอาจพบอาการง่วงซึม ผื่นแพ้ผิวหนัง แพ้แสง ปากคอบวม (angioedema) หรือกระตุ้นให้เกิดการจับหืดได้ ควรระมัดระวังการแพ้ในผู้ป่วยที่มีประวัติแพ้อาหารทะเล โดยเฉพาะกุ้ง ปู เพราะกลูโคซามีนที่มีจำหน่ายสังเคราะห์มาจากเปลือกของสัตว์ดังกล่าว ควรระมัดระวังการใช้ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยเฉพาะถ้าไม่สามารถคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ตามเป้าหมายการรักษา เพราะมีรายงานในสัตว์ทดลองว่ากลูโคซามีนทำให้การหลั่งอินซูลินลดลงได้ ถึงแม้ว่าจะยังไม่พบรายงานดังกล่าวในคนก็ตาม
Last Update : 16:29:32 04/01/2018
VITAMIN B
วิตามิน บี ชนิดต่างๆ ซึ่งเป็นสารอาหารที่ทำหน้าที่ช่วยให้ระบบการทำงานต่างๆ ของร่างกายเป็นไปโดยปกติ ภาวะที่ร่างกายอาจต้องการวิตามิน บี มากขึ้นกว่าปกติ ได้แก่ ผู้ที่รับประทานอาหารเจเป็นประจำ สตรีมีครรภ์* คนชรา ผู้ที่ร่างกายอ่อนเพลีย หรือพักฟื้นจากความเจ็บป่วย ใช้รักษาการขาดวิตามิน บี บำรุงร่างกาย และระบบประสาท วิตามินบี (Vitamin B) เป็นหนึ่งในวิตามินชนิดที่ละลายในน้ำได้ หรือที่เราเรียกกันว่า Vitamin B Complex แต่วิตามินบี ตัวนี้จะไม่สามารถเก็บไว้ในร่างกายของเราได้ โดยมันจะถูกขับออกทางปัสสาวะ แต่ก่อนมันจะถูกขับออกมันได้สร้างประโยชน์ให้เราอย่างมหาศาล โดยตัว Vitamin B Complex นั้นจะทำหน้าที่เปลี่ยนคาร์โบไฮเดรตในร่างกายให้เป็นน้ำตาลกลูโคส ซึ่งร่างกายจะสามารถเปลี่ยนเป็นพลังงานไปใช้ได้ และช่วยในกระบวนการเมตาโบลิซึมของไขมันและโปรตีน รวมถึงการทำงานของระบบประสาท และกล้ามเนื้อในระบบทางเดินอาหาร เป็นกลุ่มของวิตามินที่มีความจำเป็นต่อเส้นประสาทและความสมบูรณ์ของอวัยวะต่างๆ โดยจะมีวิตามินบี 1, บี 2, บี 3,บี 5, บี 6 และบี 12 บางทีเรียกรวมกันว่า วิตามินบีรวม มีความสำคัญในการเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา หรือทำให้ปฏิกิริยาต่างๆ ในร่างกายดำเนินไปได้ และคงจะเคยได้เห็นเคยได้ยินกันมาว่า วิตามินบีรวม หรือวิตามินบีคอมเพล็กซ์เนี่ย ส่วนมากคนวัยทำงานนอนดึกตื่นเช้ามักจะหาซื้อมาบำรุงร่างกายในรูปของอาหารเสริม เพราะเชื่อว่าในอาหารเสริมมีคุณค่าครบถ้วนกว่าวิตามินที่อยู่ในอาหารที่เรากินทุกมื้อ แต่จะจริงเท็จแค่ไหนก็ลองมาไขข้อข้องใจกันดูเลย !
Last Update : 15:58:00 03/01/2018
17. คลายเครียดด้วยใบขี้เหล็ก
17. คลายเครียดด้วยใบขี้เหล็ก จากสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน ทำให้คนเราเครียดกันมากขึ้นทุกที สภาวะความเครียดหรือวิตกกังวล นำมาสู่การนอนไม่หลับ ซึ่งมักเป็นของคู่กันจนแยกไม่ออก ดังนั้นคนที่ร่างกายทนสภาพความอ่อนเพลียและหงุดหงิดจากการนอนไม่หลับไม่ได้ บางคนหันมาพึ่งยากันมากขึ้นแต่ว่ายาแผนปัจจุบันที่เป็นกลุ่มยาคลายเครียดหรือช่วยให้นอนหลับนี้ ก็เป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ซึ่งตามกฎหมายแล้วร้านขายยาจะขายไม่ได้ ยกเว้นแต่มีใบสั่งแพทย์เท่านั้น ดังนั้นถ้ามีทางเลือกใหม่ คือได้ยาจากธรรมชาติพืชสมุนไพรที่มีฤทธิ์เป็นยาคลายเครียด และช่วยให้นอนหลับมาใช้ทดแทนการบริโภคยาแผนปัจจุบันซึ่งต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ใบขี้เหล็ก เป็นสมุนไพรไทยที่เป็นที่รู้จักและใช้มานานแล้วในรูปของอาหารซึ่งเราเอามาทำเป็นแกงขี้เหล็กนั่นเอง มีสรรพคุณช่วยในการระบาย ขับถ่ายง่าย ไม่มีของเสียตกค้าง ช่วยเจริญอาหาร สารเคมีที่มีอยู่ในขี้เหล็กมีชื่อว่า แอนไฮโดรบาราคอล ( Anhydrobarakol ) มีสรรพคุณช่วยคลายเครียด และยังมีฤทธิ์เป็นยานอนหลับอย่างอ่อนๆ อีกด้วย ปัจจุบันได้มีการวิจัยและพัฒนาผลิตเป็นยาเม็ดสำเร็จรูปวางจำหน่าย และด้วยความที่เป็นพืชสมุนไพรการรับประทานมากและบ่อยๆจึงไม่มีอาการเป็นพิษนอกจากจะช่วยให้ขับถ่ายได้ดีในตอนเช้า ซึ่งก็เป็นข้อดีเพราะคนเราต้องขับถ่ายเป็นประจำอยู่แล้ว ผลิตภัณฑ์สมุนไพรคุณภาพของขาวลออเภสัช ยาเม็ดใบขี้เหล็ก ตราดอกว่าน สรรพคุณ : ช่วยให้นอนหลับ ขนาดรับประทาน : รับประทานครั้งละ 1-4 เม็ด ก่อนนอน จุดเด่นของผลิตภัณฑ์ ยาเม็ดใบขี้เหล็กของขาวละออเภสัช ผ่านการวิจัยและพัฒนา ผลิตจากขบวนการที่ได้มาตรฐาน โดยใช้วิธีผลิตอิงตามภูมิปัญญาไทยที่ใช้ติดต่อกันมานาน จนพบว่ามีความปลอดภัย สามารถรับประทานก่อนนอนเป็นประจำได้ทุกวันโดยไม่มีผลข้างเคียง และได้รับอนุมัติทะเบียนตำรับยาโดยถูกต้องจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
Last Update : 19:21:21 10/12/2017
16. จุดเด่นยาแก้ปวดเมื่อยเถาวัลย์เปรียง
16. จุดเด่นยาแก้ปวดเมื่อยเถาวัลย์เปรียง เถาวัลย์เปรียงเป็นสมุนไพรที่มีการใช้อย่างแพร่หลาย สรรพคุณเด่นตามความรู้ของหมอยาพื้นบ้านคือ แก้กษัย รักษาปัสสาวะกะปริบกะปรอย แก้ปวดเมื่อย แก้เส้นเอ็นตึง และยังเป็นยาบำรุงสุขภาพคือเป็นทั้งยารักษาโรคและยาต้มบำรุงสุขภาพ ปัจจุบันเถาวัลย์เปรียง เป็นสมุนไพรที่ขายดีเป็นอันดับต้นๆ ในตำรับยาไทยระบุว่า รากเถาวัลย์เปรียง มีรสเฝื่อน แก้เส้นและกษัย แก้เส้นเอ็นขอด ใช้เถากินขับปัสสาวะ แก้บิด แก้ไอ แก้หวัด แก้ปวดเมื่อย เถาวัลย์เปรียงจะถูกนำไปเข้าในตำรับยาแก้เส้น แก้กษัย แก้ปวดเมื่อย แก้เจ็บตามเส้น เจ็บตามกระดูก บำรุงโลหิต บำรุงธาตุ ใช้ขับน้ำคาวปลา หลังคลอดบุตร ชำระล้างโลหิตเน่าเสีย แก้ท้องผูก ท้องเสีย แก้มุตกิดระดูขาว ขับปัสสาวะ และยังมีฤทธิ์ลดการอักเสบ ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันอีกด้วย อาจใช้เป็นอาหารเสริมสุขภาพของผู้ป่วยภูมิคุ้มกันบกพร่อง ผู้ป่วยเอดส์เป็นต้น ผลิคภัณฑ์สมุนไพรคุณภาพของขาวลออเภสัช ยาเถาวัลย์เปรียง ชนิดเม็ด ตราดอกว่าน สรรพคุณ : บรรเทาอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย ขนาดรับประทาน : ผู้ใหญ่ครั้งละ 4 เม็ด วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร จุดเด่นของผลิตภัณฑ์ เป็นยาแก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกายและกล้ามเนื้อที่ผลิตจากสมุนไพรล้วนๆ เช่นเถาวัลย์เปรียง เถาเอ็นอ่อน โคคลาน ที่มีคุณสมบัติบรรเทาอาการปวดเมื่อยได้ดีได้ผลไม่ด้อยกว่ายาแผนปัจจุบันจึงไม่จำเป็นต้องใช้ยาแผนปัจจุบันที่มีส่วนประกอบของ Stearoids เช่น Prednisolone , Dexamethasone หรือกลุ่มเอนเสด ที่มักจะก่อให้เกิดปัญหาแผลในกระเพาะอาหารตามมา ยาแก้ปวดเมื่อยเถาวัลย์เปรียงของขาวละออจึงเป็นทางเลือกที่ดีของการบรรเทาอาการปวดเมื่อย โดยไม่ต้องเสี่ยงกับปัญหาแผลในกระเพาะอาหาร
Last Update : 14:09:56 08/12/2017
15. ดักไขมันลดหุ่นด้วยไคโตซาน
15. ดักไขมันลดหุ่นด้วยไคโตซาน ไคโตซาน เป็น ไบโอโพลิเมอร์ธรรมชาติอย่างหนึ่ง ได้จากเส้นใยที่เรียกว่า ?ไคติน?ซึงจะมีในเปลือก ปู กุ้ง และแกนในของปลาหมึก เป็นสารธรรมชาติที่มีลักษณะโดดเด่นเฉพาะตัว ย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ และมีความปลอดภัยในการนำมาใช้กับมนุษย์ ไม่เกิดการแพ้ ไม่ไวไฟ และไม่เป็นพิษ ( non ? phyto toxic ) ไม่เกิดผลเสียและปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมต่อพืช นอกจากนี้ยังส่งเสริมการเพิ่มปริมาณของจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ คุณสมบัติของไคโตซาน คือ ใช้ในการลดโคเลสเตอรอล ลดความดันโลหิต ฟื้นฟูสภาพผิวหนัง ป้องกันเชื้อแบคทีเรีย ไคโตซานเป็นตัวอย่าง ที่ชาญฉลาดของการจัดการกับกากของเสียจากอุตสาหกรรมอาหาร ที่ใช้กุ้ง ปู ปลาหมึก จากกระบวนการ Hydrolyse ไคโตซานถูกนำไปใช้ประโยชน์หลายๆอย่างได้ อย่างน่าทึ่งในแทบทุกวงการ ทั้งการแพทย์ การเกษตร อุตสาหกรรม และสิ่งแวดล้อม ส่วนประโยชน์ของไคติน-ไคโตซาน ในด้านความสวยความงามคือ สามารถลดความอ้วนได้ดีสุดยอดอย่างที่เราไม่อยากจะเชื่อ เมื่อไคตินนั้นได้กลายเป็นไคโตซานแล้ว ประจุบวกอันมหาสาลของไคโตซานจะเป็นที่ดึงดูดใจมากของเหล่ากรดไขมันอิสระ และโคเลสเตอรอลที่มีประจุลบ ดังนั้นเจ้าตัวต้นเหตุของความอ้วนทั้ง 2 ตัว ก็จะเกาะติดแจกับไคโตซาน และระบบย่อยอาหารของคนไม่สามารถย่อยไคติน-ไคโตซานได้ทั้งหมดจึงขับออกมาพร้อมกับอุจจาระโดยที่มีโคเลสเตอรอลและไขมันส่วนเกินตามออกมาด้วย ด้วยคุณสมบัติดักจับไขมันที่ดีกว่าใยพืชถึง 80 เท่าของไคโตซานขาวลออเภสัชจึงได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ไคโตซานชนิดแคปซูลเพื่อใช้ในการควบคุมน้ำหนัก ดักจับไขมันส่วนเกินได้ดี เพื่อประโยชน์ทางสุขภาพของคุณ กุ้ง ปู ปลาหมึก ของไทย ไม่เพียงแต่มีรสชาติดี เป็นที่ต้องการของทั่วโลก เปลือกกุ้ง กระดองปู และแกนในของปลาหมึก ก็เป็นวัตถุดิบตั้งต้นที่ดีของไคโตซานคุณภาพเช่นกัน ไคโตซาน เป็นอนุพันธ์เดียวกันกับ Glucosamine ซึ่งเป็นที่นิยมรักษาอาการปวดข้อ ปวดเข่า ในบางประเทศ ให้นักกีฬาที่ต้องใช้พลังของข้อและกระดูก เช่นนักกายกรรม บาสเก็ตบอล ทานไคโตซานเป็นอาหารเสริมเชื่อว่าจะเสริมกระดูกอ่อนได้ ป้องกันการบาดเจ็บจากการฝึกซ้อมและแข่งขัน ผลิตภัณฑ์สมุนไพรคุณภาพของขาวลออเภสัช ไคโตซาน แคปซูล เครื่องหมายการค้า คัมเมอรี่ สรรพคุณ : ควบคุมน้ำหนัก ดักจับไขมันส่วนเกิน ขนาดรับประทาน : ครั้งละ 2-3 แคปซูล ก่อนอาหาร ดื่มน้ำตาม 1-2 แก้ว จุดเด่นของผลิตภัณฑ์ เป็นไคโตซานที่มีคุณภาพสูง ผ่านกระบวนการผลิตที่ถูกต้องตามหลักมาตรฐาน GMP และ ISO 9001:2000
Last Update : 13:01:17 08/12/2017

1.หลักการใช้ยาที่ควรปฏิบัติ

Last Update: 14:52:14 26/09/2017
Page View (1759)
หลักการใช้ยาที่ควรปฏิบัติ
ภญ.อลิสา  แป้นมงคล
อ.ดร.ภญ.ภูริดา  เวียนทอง
สิ่งที่สำคัญในการเริ่มใช้ยาคือ การอ่านฉลากยาให้ละเอียดถี่ถ้วน เพื่อให้สามารถใช้ยาได้อย่างถูกคน ถูกโรค ถูกขนาด ถูกทางหรือถูกวิธี และถูกเวลา
1. ใช้ยาให้ถูกคน  คนไทยเรามักมีนิสัยเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ แต่การแบ่งปันยาของเราให้คนอื่น หรือเอายาไปแลกเปลี่ยนกันอาจเป็นอันตรายได้ แม้จะเป็นโรคเดียวกัน มีอาการคล้ายกัน แต่อาจมีสาเหตุที่แตกต่างกัน ความรุนแรงของโรคไม่เท่ากัน สภาวะพื้นฐานร่างกายของแต่ละคนก็แตกต่างกัน อาจเหมาะกับยาคนละอย่าง ยาที่ได้ไปอาจไม่ได้ผล หรือร้ายกว่านั้นคือเกิดปฏิกิริยากับยาที่ได้รับอยู่ หรือเกิดปฏิกิริยากับร่างกาย มีโอกาสแพ้ยาหรือเกิดพิษจากยาได้
2. ใช้ยาให้ถูกโรค ยาแต่ละตัวมีสรรพคุณและวัตถุประสงค์ในการใช้ที่แตกต่างกัน บางคนเป็นหวัดมีน้ำมูก แต่กินแค่ยาลดไข้ ก็จะยังคงมีน้ำมูกอยู่ เพราะไม่ได้กินยาลดน้ำมูก บางคนแค่มีอาการปวดหัว แต่กินยาที่มีตัวยา 3 ชนิดใน 1 เม็ดที่ใช้สำหรับแก้หวัด แก้ไข้ แก้ปวด ก็อาจหายปวดหัว แต่จะได้ยาอื่นโดยไม่จำเป็น อาการลักษณะเดียวกัน แม้จะเกิดขึ้นในคนเดียวกัน อาจเกิดจากสาเหตุที่ต่างกัน และการรักษาก็อาจแตกต่างกันได้ อาจไม่จำเป็นต้องได้ยาเดิมเสมอไป ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอไม่ควรซื้อยากินเอง หรือซื้อยาจากร้านที่ไม่มีเภสัชกร
3. ใช้ยาให้ถูกขนาด ควรดูฉลากว่าแพทย์หรือเภสัชกร ให้ใช้ยา ครั้งละกี่เม็ด หรือกี่แคปซูล หากได้รับยาน้อยเกินไป อาจทำให้การรักษาไม่ได้ผล หรือหากได้รับยามากเกินไปก็อาจเกิดพิษจากยาได้
4. ใช้ยาให้ถูกวิธี ควรอ่านฉลากยาและศึกษาวิธีการใช้ยาอย่างละเอียดทุกครั้ง เช่นยาให้ทางการกิน หรือยาใช้ภายนอก เช่นยาทาผิวหนัง ยาหยอดตา หรือเหน็บทวารหนัก เป็นต้น
5. ใช้ยาให้ถูกเวลา ดูว่าเป็นยาที่ต้องกินก่อนอาหารหรือหลังอาหาร หรือใช้เฉพาะเมื่อมีอาการ และใช้วันละกี่ครั้ง


 
© 2000-2008 CopyRight by BTO WORLD Co.,LTD
Tel. 0-2580-8880  Fax. 0-2588-3348  Website. www.btopharmacy.com
disclaimer | privacy | contact us

  Sale Login Warehouse Login Driver Login