โดเมนเนมคืออะไร
ถ้าจะให้เปรียบเทียบง่ายๆ โดเมนเนมก็เหมือนกับเบอร์โทรศัพท์ล่ะครับ เป็นการตั้งชื่อให้กับเว็บไซต์ของคุณในแบบที่จดจำง่ายและสะท้อนความเป็นแบรนด์ของคุณในสายตาลูกค้า แล้วถ้าหากไม่มีการจดชื่อโดเมนของคุณล่ะ เว็บไซต์ของคุณจะเข้าถึงได้หรือไม่? คำตอบก็คือ ยังเข้าถึงได้ครับ เพียงแต่ต้องพิม์เป็นเชื่อตัวเลข IP adress เช่น 172.15.345.1 บนแถบ Address Bar บนเว็บเบราว์เซอร์ของคุณเท่านั้น ซึ่งแน่นอนการจำเป็นตัวเลขกับจุดคงไม่ช่วยให้จำได้ง่ายเท่าไหร่ ดังนั้นการจดชื่อโดเมนเนมและตั้งค่าให้เรียกมาที่เว็บไซต์ของคุณจึงเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดในการทำให้ลูกค้าเข้าถึงเว็บไซต์ของคุณได้ง่ายขึ้นนั่นเอง
Last Update : 16:43:31 14/03/2014
โดเมนเนมนามสกุล .kr.com
Brand : SiamDomain
Model : DOM-031
Last Update : 17:04:25 29/04/2014
โดเมนเนมนามสกุล .camera
Brand : SiamDomain
Model : DOM-036
Last Update : 16:01:25 29/04/2014
โดเมนเนมนามสกุล .guru
Brand : SiamDomain
Model : DOM-035
Last Update : 15:53:24 29/04/2014
โดเมนเนมนามสกุล .technology
Brand : SiamDomain
Model : DOM-034
Last Update : 15:48:36 29/04/2014
โดเมนเนมนามสกุล .hk,.com.hk (ฮ่องกง)
Brand : SiamDomain
Model : DOM-033
Last Update : 15:45:10 29/04/2014

โดเมนเนมคืออะไร

Last Update: 16:43:31 14/03/2014
Page View (2168)

ถ้าจะให้เปรียบเทียบง่ายๆ โดเมนเนมก็เหมือนกับเบอร์โทรศัพท์ล่ะครับ เป็นการตั้งชื่อให้กับเว็บไซต์ของคุณในแบบที่จดจำง่ายและสะท้อนความเป็นแบรนด์ของคุณในสายตาลูกค้า แล้วถ้าหากไม่มีการจดชื่อโดเมนของคุณล่ะ เว็บไซต์ของคุณจะเข้าถึงได้หรือไม่? คำตอบก็คือ ยังเข้าถึงได้ครับ เพียงแต่ต้องพิม์เป็นเชื่อตัวเลข IP adress เช่น 172.15.345.1 บนแถบ Address Bar บนเว็บเบราว์เซอร์ของคุณเท่านั้น  ซึ่งแน่นอนการจำเป็นตัวเลขกับจุดคงไม่ช่วยให้จำได้ง่ายเท่าไหร่ ดังนั้นการจดชื่อโดเมนเนมและตั้งค่าให้เรียกมาที่เว็บไซต์ของคุณจึงเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดในการทำให้ลูกค้าเข้าถึงเว็บไซต์ของคุณได้ง่ายขึ้นนั่นเอง

โดเมนเนมไม่ต้องมี www. ขึ้นต้นนะครับ แต่ต้องมีสิ่งที่อยู่ข้างหลังที่เรียกว่า extension หรือนามสกุลกำกับเสมอ ซึ่งปัจจุบันมีออกมาใหม่ๆ แล้วหลายตัวเลยทีเดียว [คลิกที่นี่] ตัวอย่างของโดเมนเนมที่คุ้นเคยกันก็ได้แก่ดังต่อไปนี้นะครับ

  • google.com
  • google.co.th
  • bizoncloud.in.th
  • wikipedia.org
  • japantimes.co.jp
  • geek.vic,gov.au

 วิธีการเรียกชื่อโดเมนเนม

โดเมนเนมเรียงตามลำดับจากซ้ายไปขวา สิ่งที่อยู่ซ้ายสุดจะมีความชัดเจนมากที่สุดในขณะที่ฝั่งขวาถัดๆ ไปจะมีคำนิยามที่กว้างขึ้น เหมือนกับที่เราใช้ในการเรียกชื่อและนามสกุลของเราเองนั่นแหล่ะครับ โดยแต่ละส่วนจะแยกกันโดยเครื่องหมายจุด (.) นั่นเอง

เริ่มต้นสิ่งที่อยู่ซ้ายสุดจะเรียกว่า www. (ย่อมาจาก World Wide Web) ซึ่งใช้เพื่อบ่งบอกความเป็นเว็บไซต์สาธารณะทั่วไปที่เข้าถึงได้โดยทุกคนนะครับ ส่วนถัดมาที่อยู่ตรงกลางอย่างเช่น google, wikipedia หรือ facebook เหล่านี้คือชื่อเฉพาะที่คุณเลือกได้เองตามความเหมาะสมกับธุรกิจหรือตัวตนของคุณนะครับ และถัดมาทางขวาต่อๆ มาเราเรียกว่าเป็น Domain Extension หรือนามสกุลของโดเมน มีไว้เพื่อบ่งบอกกลุ่มของโดเมนที่ชื่อของคุณจดเอาไว้นะครับ เช่น .com หมายถึงเว็บเชิงพาณิชย์ทั่วไป และ .org หมายถึงเว็บองค์กรหรือหน่วยงานต่างๆ ครับ Domain Extention นี้มีหลากหลายระดับ แบ่งแยกกันโดยใช้เครื่องหมายจุดเช่นกัน ประกอบด้วย TLD หรือ Top-Level Domain ที่มีแค่ชั้นเดียวอย่างเช่น .com, .net หรือ Second-Level Domain ที่มีสองชั้น เช่น .com.au และ Third-Level Domain ที่มีสามชั้นเช่น .vic.gov.au ครับ

โดเมนเนมต่างจาก URL อย่างไร?

อันที่จริงแล้วโดเมนคือส่วนย่อยส่วนหนึ่งของ URL นั่นเองครับ เพราะ URL คือที่อยู่ของหน้าเว็บเพจแต่ละหน้าและมีการแบ่งโดยใช้เครื่องหมาย / เป็นสำคัญ การใช้เครื่องหมาย /บ่งกั้นนั้นเป็นการชี้ว่าหน้าเว้บเพจนั้นๆ เป็นส่วนที่อยู่บนเว็บไซต์เดียวกันกับโดเมนของคุณนั่นเองครับ ดังนั้น ในตัวอย่างต่อไปนี้ ส่วนที่ทำตัวหน้า คือชื่อโดเมนครับ

  • http://horses.about.com/od/basiccare/a/healthcheck.htm
  • http://www.nytimes.com/2007/07/19/books/19potter.html
  • http://www.nrl.navy.mill/content.php?P=MISSION
  • http://www.fas.harvard.edu/~hsdept/chsi.html
  • http://jobsearch.monster.ca/jobsearch.asp?q=denver&fn=&lid=&re=&cy=CA
  • http://en.wikipedia.org/wiki/Conradblack
  • http://classified.japantimes.co.jp/miscellaneous.htm
  • http://www.dublin.ie/visitors.htm
  • http://www.gamesindustry.biz/content_page.php?aid=26858
  • http://www.spain.info/TourSpain/Destinos/
  • http://azureus.sourceforge.net/download.php

แล้วโดเมนเนมคือสิ่งเดียวกันกับ IP Address หรือไม่

ถ้าจะให้พูดให้เข้าใจง่ายแล้ว โดเมนเนมก็คือชื่อเลยของ IP Address ของว็บไซต์ของคุณนั่นเองล่ะครับ ถ้าจัดว่าเป็นชื่อเล่นแล้ว ก้หมายความว่า คุณมีโดเมนเนมได้หลายชื่อหลายนามสกุล เพื่อสื่อถึง IP Address เดียวกันนั่นเองครับ

เทคนิคในการเลือกชื่อโดเมน

การมีชื่อโดเมนเนมที่สั้น จดจำง่ายและในนามสกุลที่ตรงกับหมวดหมู่ คือสิ่งแรกที่คุณต้องพิจารณาและเลือกสรรนะครับ เพราะหากคุณเลือกชื่อโดเมนที่ยาวและคั่นด้วย เครื่องหมาย – เยอะ นั่นคือการแสดงให้ลูกค้าเห็นว่าคุณเข้ามาทำธุรกิจนี้ช้ากว่าคู่แข่งของคุณเสียแล้ว ลองนึกตัวอย่างของ web.com ซิครับ น่าจะเป็นเจ้าแห่งการทำเว็บเลยทีเดียวที่สามารถขอเข้าจดโดเมนแรกๆ แบบนี้ได้

ขั้นตอนการขอจดโดเมนนั่นก็เหมือนไปอำเภอและขอจดชื่อใหม่นั่นล่ะครับ ถ้าว้ำก็จดไม่ได้ ถ้าไม่ใช่นามสกุลที่บริษัทรับจดดุแลอยู่ก็จดไม่ได้เช่นกัน ดังนั้น คุณต้องปรึกษากับบริษัทที่เป็นนายหน้ารับจดโดเมนให้ดีนะครับ ว่าเขาสามารถช่วยคุณจดโดเมนที่คุณต้องการได้หรือไม่ สำหรับขั้นตอนที่ชัดเจนเกี่ยวกับการขอจดโดเมน ผมขอโพสในวันถัดไปนะครับ

นอกจากจะเลือกชื่อที่จดจำง่ายและ คุณต้องเลือกชื่อที่ชัดเจนและไม่ซ้ำซ้อนกับใครด้วย ชื่อโดเมนที่ดีที่เหมาะกะบธุรกิจคุณ คือการสร้างตำแหน่งที่น่าจดจำบนโลกออนไลน์ หากคุณได้ชื่อที่ชัดเจนอย่างเช่น joystick.com ซึ่งจำง่ายและโดดเด่นกว่า การเล่นคำเพิ่มเข้าไปอย่าง ArcadeJoyStick.com คงจะดีกว่าเป็นแน่ ก็เป็นเรื่องของการตลาดล่ะครับที่ต้องพิจารณากันดีๆ ว่าชื่อที่ “ใช่” มันคืออะไรกันแน่

โดเมนเทพๆ เป็นอย่างไร?

หลายคนเลือกที่จะไขว่คว้าชื่อโดเมนที่จัดว่าโดนเต็มๆ กับธุรกิจของตนเอง แต่ก็ไม่รู้หรอกครับว่าไอ้คำว่า “โดน” เนี่ยมันจะต้องมีเกณฑ์อย่างไร ลองมาดูกันอย่างลึกซึ้งก็คงไม่มีอะไรมาก สิ่งที่น่าคิดมีไม่กี่อย่าง ได้แก่

  • Keyword-rich โดเมนเนมควรจะประกอบด้วยคำสำคัญหรือ Keyword ที่ลูกค้าคุณน่าจะใช้เพื่อค้นหาคุณจาก Search Engine นะครับ เช่น Tharentacar.com อะไรประมาณนี้ก็ยังพอไหว
  • Short โดเมนเนมควรจะสั้น แต่ถ้าทำให้สั้นไม่ได้ก็เอาให้มันสั้นที่สุดแล้วกันครับ เหมือนเกมเล่นผสมคำน่ะครับ ลองเอานู่นมาชนนี่เดี๋ยวมันก็สั้นเอง เช่น Mixmatch.com อะไรประมาณนี้ก็เก๋ใช่ย่อย
  • Generic โดเมนเนมควรอ่านแล้วเข้าได้ใจทั่วไป หากธุรกิจคุณขายสินค้าที่เทคนิคมากๆ ก็อย่าเอาชื่อเทคนิคมาตั้งโดเมนเลยนะครับ เพราะมันจะลำบากในการเข้าถึงและทำความเข้าใจของลูกค้า การเอา technical term ที่เกี่ยวกับธุรกิจคุณคงไม่น่าจะเหมาะเอามาตั้งชื่อโดเมนเท่าไรนะครับ เช่น hidan.com อะไรอย่างงี้ คงเข้าใจยากพอสมควร
  • Descriptive โดเมนเนมควรมีความหมายในตัวเองด้วยนะครับ ว่าเป็นธุรกิจอะไร
  • Proper Name แม้จะบอกว่าชื่อโดเมนควร generic พอสมควรแต่ก็ไม่ได้ห้ามใช้คำเฉพาะเลยเสียทีเดียวนะครับ หากชื่อแบรนด์ของคุณเป็นชื่อเแพาะอยู่แล้วก็สามารถทำได้ เพียงแค่โดเมนเนมควรจะมีลักษณะจำเพาะบางอย่างที่ทำให้ชื่อเว็บของคุณโดเด่นกว่าใคร เช่น bikeXcycle.com ก้พอได้
  • Geographic โดเมนเนมควรมีาการแจ้งที่ตั้งของคุณให้ชัดเจน การเลือกจดเป็นนามสกุล .in.th หรือ .co.jp อะไรประมาณนี้ก็ช่วยให้บ่งบอกความเป็นธุรกิจในประเทศนั้นๆ ได้เช่นกันครับ
  • Industry-wide โดเมนเนมควรเป็นตัวแทนของกลุ่มอุตสาหกรรมที่คุณอยู่ด้วยนะครับ การใช้ชื่อที่ไม่เข้ากันเช่น enginex.com แต่สื่อถึงธุรกิจเพชรพลอยก็คงไม่เข้าที่เข้าทางเช่นกัน
  • Memorable โดเมนเนมควรเป็นชื่อที่น่าจดนะครับ การตั้งชื่อยาวเกินไปก็คงไม่ช่วยให้จำง่ายเช่นกัน
  • Brandable อย่าลืมว่าโดเมนเนมเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างแบรนด์ของคุณ คุณต้องระลึกเสมอว่าชื่อโดเมนคือส่วนหนึ่งการตลาด อย่าจั้งชื่อแบบที่ฉีกแนวออกไปมากนักเพราะจะทำให้คุณทำตลาดยากขึ้นนะครับ

 ต่อไปขอพูดเรื่อง TLD หลักๆ กันหน่อย คำว่า Top-Level นี้ก็สามารถแบ่งแยกเป็นแบบทั่วไปและแบบ Country-Code ด้วยนะครับ ตามภาพ แต่ก็ไม่แปลกที่ตอนนี้ .com มีการจดทะเบียเยอะสุด เพราะว่ามันมาเป็นช่วงแรกๆ นั่นก็หมายความว่าโอกาสในการจด .net และอื่นๆ ยังมีมากอยู่ รีบจดนะครับ หากช้า คนอื่นเอาไปกินก่อน คุณจะช้าเกินไปนะครับ

ต่อไปมาดูกันว่าไอ้ที่จดๆ กันไว้ในตลาดโดเมน มันมีจำนวนเท่าไรกันเชียวที่เรียกว่าเป็นโดเมนเทพ (Premium Domain) ที่ทำเงินทำทองจริงๆ ให้แก่ธุรกิจนั้นๆ ครับ ไม่น่าแปลกที่ 5-10% เท่านั้นในตลาดที่ทำเงินได้จริงอย่างเป้นกอบเป้นกำ และแน่นอนราคาของ premium domain พวกนี้ย่อมมีราคาสูงขึ้นทุกปี

โดเมนคือการลงทุน

สุดท้ายนี้คงจะเลี่ยงไม่ได้ว่า การจดโดเมนหลายๆ ชื่อที่เกี่ยวข้องกับเราคือการลงทุนอย่างจริงจังในแง่ของการตลาดนะครับ ไม่ใช่แค่การเลือกจดเพียงชื่อเดียวเพื่อตัวคุรและตลอดไป ต้องมองความเคลื่อนไหวต่างๆ ให้ดีและเลือกจดชื่อสักสิบชื่อไว้เพื่อดักให้ Search Engine เจอคุณได้ง่ายขึ้นและมีลูกค้ามากขึ้นนั่นเองครับ



 

 



 
© 2000-2008 CopyRight by Netway Communication
Tel. 029122558  Website. www.netway.co.th
disclaimer | privacy | contact us

  Sale Login Warehouse Login Driver Login