การดูแลแอร์แบบง่ายๆ
1. ประหยัดไฟฟ้า การทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศจะทำให้อากาศผ่านตัวกรองได้ดี และทำให้ คอยล์ (Coil) สะอาดทำให้เสียค่าไฟน้อย ซึ่งถ้าแอร์สกปรกจะทำให้เสียพลังงานมากกว่าแอร์ที่สะอาดประมาณร้อยละ 10 -27 2. ประหยัดเงิน ในการซ่อมแซมและช่วยยืดอายุการใช้งานของแอร์ เพราะถ้าไม่ล้างแอร์ ระบายความ ร้อนสกปรก ทำให้ระบายความร้อนได้ไม่ดี คอมเพลสเซอร์ร้อนจัด ลิ้นคอมเพรสเซอร์เสีย และมอเตอร์ไหม้ได้ 3. สุขภาพดี คุณภาพอากาศที่เราหายใจดีขึ้น ลดการสะสมของฝุ่น หากแอร์มีฝุ่นละอองสะสมมากๆ เมื่อผนวกกับความชื้นจะเกิดเชื้อรา และแบคทีเรียหรือเชื้อโรคอื่นๆ อยู่ด้วย ดังนั้นการบำรุงรักษาแอร์ จะช่วยให้คุณภาพอากาศที่เราหายใจดีขึ้น
Last Update : 16:50:03 13/11/2010
การติดตั้งเครื่องปรับอากาศ
ในที่นี้จะกล่าวเฉพาะเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน(Split Type) ที่ใช้ตามบ้านทั่วๆไปก่อนดังนี้ การเลือกตำแหน่งติดตั้งเครื่องปรับอากาศ
Last Update : 13:28:12 09/11/2010
REFNET ท่อแยกน้ำยาแอร์ระบบ VRV VRF
ท่อแยกน้ำยา REFNET JOINT มี 4 ชุด
Last Update : 14:29:50 23/03/2024
ท่อทองแดงม้วนยาว 50 เมตร 1/4 3/8 1/2 5/8
Brand : Nice tube
ท่อทองแดงยาวพิเศษ ยาว 30 เมตร ยาว 50 เมตร ขนาดท่อ 1/4" , 3/8"
Last Update : 09:09:12 12/03/2024
ท่อทองแดงแอร์ ท่อทองแดงยาว ท่อทองแดงม้วนยาว ท่อแอร์
ท่อทองแดงม้วนยี่ห้อ Nice tube ท่อหนา 0.70 - 0.80 มม. ยาวพิเศษ สั่งตัดระยะความยาวได้
Last Update : 09:08:40 12/03/2024
Profile
Brand : sinowon
Model : VT12
Last Update : 16:06:58 09/03/2024

การติดตั้งเครื่องปรับอากาศ

Last Update: 13:28:12 09/11/2010
Page View (1808)

ตำแหน่งคอนเด็นซิ่งยูนิต ( CDU ) ที่เหมาะสม

1. บริเวณที่ติดตั้งเครื่องต้องแข็งแรงสามารถรับน้ำหนักและแรงสั่นสะเทือนจากการทำงานได้

2.ในกรณีที่คอนเด็นซิ่งตั้งวางบนพื้นดินต้องทำฐานรองรับเครื่องด้วยคอนกรีต

3. ติดตั้งในบริเวณที่อากาศถ่ายเทได้สะดวกและห่างจากมุมอับ

4. บริเวณที่ติดตั้งต้องมีการระบายน้ำได้ดีหรือที่ที่น้ำท่วมไม่ถึง

5. การวางคอนด็นซิ่งยูนิตควรมีลูกยางรองเพื่อลดแรงสั่นสะเทือนจากการทำงานของตัวเครื่อง

6. ควรวาง CDU ให้ห่างจากพื้นที่ใช้สอยทั่วไปเพื่อหลีกเลี่ยงจากปัญหาเรื่องเสียงรบกวน

7. อย่าตั้งเครื่องชิดกับคอนเด็นซิ่งยูนิตอื่นหรือผนังเพราะทำให้ระบายความร้อนยาก

8. หลีกเลี่ยงการติดตั้งในสภาพแวดล้อมที่ไม่ดี เช่น มีความเป็นกรดสูง,แสงแดดแรงหรือมีน้ำหยด

9. ควรวาง CDU ในบริเวณที่สามารถเข้าไปตรวจซ่อมภายหลังได้อย่างสะดวก

ตำแหน่งแฟนคอยล์ยูนิต ( FCU) ที่เหมาะสม

1. ตั้งในบริเวณที่สามารถกระจายลมได้ทั่วทั้งห้องอย่าติดตั้งเครื่องในมุมอับ

2. อย่าให้สิ่งของกีดขวางทางไหลของอากาศเพราะจะทำให้อากาศหมุนเวียนไม่สะดวก

3. บริเวณที่ติดตั้งเครื่องต้องแข็งแรงสามารถรับน้ำหนักและแรงสั่นสะเทือนจากการทำงานได้

4. หลีกเลี่ยงการวาง FCU ใกล้กับประตู, หน้าต่างหรือพัดลมดูดอากาศ

5. ควรวาง FCU ในบริเวณที่สามารถตรวจซ่อมภายหลังได้อย่างสะดวก

6. อย่าตั้งชิดผนังที่โดนแดดจัดเพราะจะทำให้ได้รับความร้อนจากภายนอกได้ง่าย

7. พยายามติดตั้งแฟนคอยล์ยูนิตให้อยู่ใกล้กับคอนเด็นซิ่งยูนิตจะทำให้ประสิทธิภาพสูงสุด

การติดตั้งท่อน้ำยา

ระบบท่อน้ำยานับว่าเป็นส่วนที่มีความสำคัญมากที่สุดในการติดตั้งเครื่องปรับอากาศแบบแยก ส่วนการเลือกใช้ขนาดท่อที่มีขนาดเล็กเกินไปจะมีผลทำให้เกิดปัญหาตามมาเช่น ทำให้ประสิทธิ ภาพของเครื่องต่ำลงหรือความดันตกคร่อม (Pressure Drop) ระหว่างท่อมากเกินไป เป็นต้น ดังนั้นในการเลือก ใช้ขนาดท่อน้ำยาต้องคำนึงถึง

1. PIPE DIAMETER ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของท่อน้ำยา

2. PIPE LENGTH ความยาวท่อน้ำยา

3. NUMBER OF FITTINGS จำนวนของข้อต่อต่างๆ เช่น ข้องอ

4. FLUID VELOCITY ความเร็วในการเคลื่อนที่ของสารทำความเย็น

การเลือกใช้ท่อน้ำยาควรเลือกตามคู่มือติดตั้งเครื่องปรับอากาศนั้นๆ แต่ถ้าไม่ทราบก็สามารถหา ขนาดคร่าวๆได้จากแผนผังคำนวณขนาดท่อน้ำยาซึ่งโดยทั่วไปกำหนดความดันตกคร่อมด้านดูด (Suction Line Pressure Drop) 2 PSI/100 FT และความดันตกคร่อมด้านส่ง (Discharge Line PressureDrop) 4 PSI/100 FT.

นอกจากการเลือกใช้ขนาดท่อน้ำยาที่ถูกต้องแล้ว การเดินท่อน้ำยายังต้องทำอย่างถูกหลักการอีก ด้วยจึงจะทำให้เครื่องทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ระบบท่อน้ำยาต้องทำความสะอาดให้ดีและ แห้งและในการเดินท่อน้ำยาต้องคำนึงถึงความเร็วของไอน้ำยาให้มากพอที่จะพาน้ำมันหล่อลื่น กลับคอมเพรสเซอร์ด้วย ดังนั้นในการติดตั้งคอนเด็นซิ่งและอีวาพอเรเตอร์ในระดับที่ต่างกันจะ ต้องคำนึงถึง

1. การติดตั้งอีวาพอเรเตอร์ต่ำกว่าคอนเด็นซิ่ง จะมีผลให้น้ำมันกลับเข้าคอมเพรสเซอร์น้อยเพราะ คอมเพรสเซอร์อยู่สูงกว่า ดังนั้นการเดินท่อด้านดูดต้องคำนึงถึงความดันตกคร่อมและเรื่องน้ำมัน กลับด้วย

2. การติดตั้งคอนเด็นซิ่งต่ำกว่าอีวาพอเรเตอร์ จะมีผลให้ความดันตกลงเพราะคอมเพรสเซอร์ต้อง อัดน้ำยาขึ้นที่สูง ดังนั้นการเดินท่อด้านส่งต้องคำนึงถึงความดันตกคร่อมจากความเสียดทานและ การเดินท่อในแนวดิ่ง

การเดินท่อน้ำยาด้านดูดเมื่อตำแหน่งการวางอีวาพอเรเตอร์และคอนเด็นซิ่งอยู่ในลักษณะต่างๆ เป็นดังนี้

1. เมื่อคอนเด็นซิ่งอยู่เหนืออีวาพอเรเตอร์

ให้ทำที่กักน้ำมัน(Oil Trap) เพื่อให้แน่ใจว่า น้ำมันที่อยู่ในระบบจะไหลกับขึ้นไปยังคอม เพรสเซอร์ การทำที่กักน้ำมันควรทำให้ใกล้ อีวาพอเรเตอร์ที่สุดเท่าที่จะทำได้

2. เมื่อคอนเด็นซิ่งอยู่เหนืออีวาพอเรเตอร์ให้ทำที่กักน้ำมันทุกๆช่วงความสูง 4.5 ม. ทั้งนี้เพื่อให้เก็บกักน้ำมันเอาไว้ในขณะ ที่คอมเพรสเซอร์เริ่มทำงานอีกครั้ง น้ำมัน จากที่กักน้ำมันนี้จะถูกดูดไปหล่อลื่นคอม เพรสเซอร์ได้ทันที (ไม่ควรเดินท่อในแนวดิ่งสูงเกินกว่า 15 ม.)

การเดินท่อน้ำยาต่อระบบทำความเย็นยาวเกิน 10 เมตร จะต้องเติมน้ำมันหล่อลื่นเพิ่มเติมเพื่อ ชดเชยผลของฟิล์มน้ำมันที่ตกค้างผิวด้านในของท่อดูด ตามอัตราตารางต่อไปนี้ต่อทุกๆความยาว 1 เมตรที่เดิน การเติมน้ำมันให้ดูจาก OIL SIGHT GLASS (ถ้ามี) โดยให้อยู่ในช่วง 1/2 ถึง 3/4 ของ OIL SIGHT GLASS

ขนาดท่อ อัตราเติมน้ำมันต่อทุกความยาว 1 เมตร
3/8 7.5 มิลลิเมตร (ซี.ซี)
1/2 10 มิลลิเมตร (ซี.ซี)
5/8 20 มิลลิเมตร (ซี.ซี)
3/4 30 มิลลิเมตร (ซี.ซี)
7/8 40 มิลลิเมตร (ซี.ซี)
1-1/8 50 มิลลิเมตร (ซี.ซี)

เมื่อเดินท่อน้ำยาผ่านผนัง,กำแพง ควรบุหรือห่อด้วยฉนวน ซึ่งสามารถลดการสั่นสะเทือนได้ ส่วน ท่อด้านดูดต้องหุ้มฉนวนตลอดความยาวของท่อ ฉนวนที่ใช้หุ้มท่อนี้ต้องมีความหนาอย่างน้อย 1/2 นิ้ว โดยปกติแล้วท่อด้านส่งไม่จำเป็นต้องหุ้มฉนวน ยกเว้นในกรณีที่เดินท่อผ่านบริเวณที่มี อุณหภูมิสูง เช่น ห้องหม้อน้ำหรือกลางแดดร้อนจัด ควรจะใช้ฉนวนยางที่มีความหนาอย่างน้อย 3/8 นิ้ว หุ้มห่อด้านส่งด้วย และต้องเพิ่มความหนาของฉนวนด้านดูดขึ้นเป็นพิเศษด้วยอย่างน้อย หนา 3/4 นิ้ว

การติดตั้งท่อน้ำทิ้ง

ท่อน้ำทิ้งจัดว่าเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่ง ถ้าติดตั้งไม่ดีอาจมีผลให้น้ำไม่สามารถระบายออกและขัง อยู่ในตัวเครื่องจนล้นออกมาภายนอกสร้างความเสียหายให้บริเวณรอบๆเครื่องได้ ท่อน้ำทิ้งโดย มากจะใช้ท่อ S-LON หรือท่อ PVC โดยต่อออกจากตัวเครื่องอีวาพอเรเตอร์ ท่อน้ำทิ้งควรจะหุ้ม ฉนวนตรงบริเวณที่อาจจะเกิดมีการ condensate โดยเฉพาะถ้าเดินท่ออยู่ในฝ้าเพดาน นอกจาก นี้ท่อน้ำทิ้งควรทำ TRAP ด้วย

การบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศ

เพื่อให้เครื่องปรับอากาศทำงานเต็มประสิทธิภาพและมีอายุการใช้งานยาวนานจึงควรหมั่น ดูแลบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอ มีข้อแนะนำโดยทั่วไปเกี่ยวกับการบำรุงรักษาดังนี้

1. หมั่นตรวจสอบและทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศของแฟนคอยล์ยูนิตทุกสองสัปดาห์

2. แผงอีวาพอเรเตอร์คอยล์และคอนเด็นเซอร์คอยล์ควรทำความสะอาด 3-6 เดือนต่อครั้ง

3. มอเตอร์พัดลมทั้งแฟนคอยล์ยูนิตและคอนเด็นซิ่งยูนิตต้องมีการตรวจเช็คทุก 6 เดือน และทำการหล่อลื่น โดยการอัดจาระบีหรือหยอดน้ำมันอย่างสม่ำเสมอ

4. ตรวจดูถาดน้ำทิ้ง ทำความสะอาดเพื่อให้การไหลของน้ำทิ้งเป็นไปอย่างสมบูรณ์

5. ตรวจดูทิศทางลมเข้าออกของแฟนคอยล์ยูนิต ต้องไม่มีวัสดุปิดขวางทางลม

6. ตรวจสอบและซ่อมแซมฉนวนท่อน้ำยาที่ต่อระหว่างคอนเด็นซิ่งยูนิตและแฟนคอยล์ยูนิต

7. ตรวจสอบหน้าต่างและประตูว่ามีรูรั่วทำให้อากาศร้อนจากภายนอกเข้าสู่อาคารหรือไม่

8. ติดต่อช่างบริการที่เชื่อถือได้เพื่อตรวจสอบเครื่องอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง



 
© 2000-2008 CopyRight by CJC Engineering Products Co.,Ltd.
Tel. 02-1746034  Fax. 02-1746035  Website. www.cjcengineering.com
disclaimer | privacy | contact us

  Sale Login Warehouse Login Driver Login