ความรู้เรื่องสาย Fiber Optic
สาย Fiber Optic คือเส้นใยแก้วนำแสง กล่าวคือ สายนำสัญญาณที่ใช้แสงเป็นตัวกลางในการ สื่อสารข้อมูลจากจุดหนี่งไปยังอีกจุดหนึ่ง โดยทำจากแก้วที่มีความบริสุทธิ์มาก เส้นใยแก้วนำแสงที่ดี ต้องสามารถนำสัญญาณแสงจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่งโดยมีการสูญเสียของสัญญาณแสงน้อยที่สุด
Last Update : 14:41:40 06/08/2013
การเข้าหัว LAN
สาย CAT5 (สายแลน) ตามความยาวที่ต้องการ แต่ไม่ควรเกิน 100 m.
Last Update : 14:24:37 06/08/2013
การทำงานของเลนส์แบบอินฟราเรดในกล้องวงจรปิด
โดยทั่วไปเลนส์สำหรับรับภาพจะมีขนาด 4:3 และขนาดของ CCD จะมีผลต่อภาพ ถ้า CCD มีขนาดเล็กจะทำให้มุมที่ใช้รับภาพแคบลง ดังนั้นเราจึงต้องเลือกเลนส์ให้เหมาะสมกับ CCD เพื่อให้ได้ภาพที่ดีที่สุด ในส่วนของเลนส์ก็มีความสำคัญไม่น้อยถ้าเราต้องการให้ภาพมีความคมชัดมากที่สุด ก็ต้องเลือกใช้เลนส์ที่สามารถจับภาพและทำมุมภาพตกกระทบที่ CCD ได้อย่างแม่นยำที่สุด
Last Update : 16:05:17 05/08/2013
การเข้าหัว BNC แบบ Crimping
การเข้าหัว BNC แบบ Crimping
Last Update : 15:55:04 05/08/2013
ความรู้เรื่องกล้องวงจรปิด
Lux (illumination) คือ การที่กล้องสามารถจับภาพได้ในสภาพแวดล้อมที่แสงน้อยที่สุด ซึ่งเราเรียกว่า minimum illumination ค่า Lux ที่แสดงในรายละเอียดของกล้องวงจรปิด จึงหมายถึงค่าของแสงที่กล้องตัวนั้นๆ สามารถจับภาพได้ เช่น 0.8 Lux (Colour) หมายถึง กล้องตัวนี้สามารถจับภาพที่เป็นภาพสีได้ ที่แสง 0.8 Lux หรือ มากกว่า หากแสงน้อยกว่า 0.8 Lux จะเป็นภาพขาวดำ และจะจับภาพไม่ได้ที่มืดสนิท คือ 0 Lux (แต่ จะไม่บอกไว้ เนื่องเป็นค่าคงที่ของกล้องทุกตัวอยู่แล้ว) นอกเสียจากว่ากล้องนั้นเป็นกล้องที่มีอินฟาเรด ดังนั้นการเลือกล้องวงจรปิด นอกจากจะเลือกกล้องที่มี TV Line สูงๆ แล้วมักจะนิยมมองหากล้องที่มีค่า Lux ตํ่า ๆ ด้วย การเทียบเคียงค่า Lux 1 Lux ประมาณแสงจากการจุดเทียน 1 เล่ม 0.1 Lux ประมาณแสงจากพระจันทร์เต็มดวง หรือที่ ๆ มีแสงไฟสลัว ๆ หรือค่อนข้างมืด 0 Lux หมายถึงที่มืดสนิท การจะมองเห็นได้ กล้องจะต้องทำงานร่วมกับแสงอินฟราเรดหรือ IR เป็น ตัวส่องสว่าง ซึ่งก็ต้องใช้เป็นกล้องอินฟราเรด และยิ่งมีหลอดอินฟราเรดมาก ก็จะยิ่งทำให้ส่องแสงไกลขึ้น แต่ภาพที่ได้จะเป็นภาพขาว-ดำ กล้องที่มีค่า Lux ยิ่งต่ำ ยิ่งดี เช่น กล้องที่มีค่า 0.1 Lux , 0.05 Lux จะให้ภาพในที่ ๆ มีแสงไฟสลัว ๆ หรือ ในที่ค่อนข้างมืดได้ ส่วนกล้องวงจรปิดแบบอินฟาเรด สามารถมองเห็นภาพในที่มืดสนิทได้ (0 Lux) โดยใช้แสงจากหลอดอินฟราเรด (IR) เป็นตัวส่องสว่าง ซึ่ง IR จะทำงานโดยอัตโนมัติเมื่อแสงไม่พอ แต่ภาพจะออกมาเป็นภาพขาว-ดำ
Last Update : 15:21:12 05/08/2013
กันสาดพับได้
Brand : anthem
Last Update : 13:45:52 23/11/2013
กล้องวงจรปิด Anthem IR 25
Brand : Anthem
Model : AC-I700CP
Latest Super CMOS Chip, 700TVL, Day & Night with ICR, Super Night Vision,No noise, 1pc of LED array,Waterproof IP66
Last Update : 11:21:33 11/09/2013
เครื่องบันทึกภาพกล้องวงจรปิด 16 ช่อง NVR Hybrid
Brand : AVER
Model : IWH 5416 Touch II
Last Update : 11:20:53 11/09/2013
เครื่องบันทึกกล้องวงจรปิด 8 ช่องสัญญาณ
Brand : Anthem
Model : ACR-5808M KIT
Last Update : 11:20:25 11/09/2013
เครื่องบันทึกกล้องวงจรปิด 4 ช่องสัญญาณ
Brand : Anthem
Model : ACR-5104S KIT
Last Update : 11:20:00 11/09/2013
VCLink Mobile App Introduction Video
Last Update : 09:52:36 06/08/2013
WebTool Introduction Video
Last Update : 09:51:38 06/08/2013

ความรู้เรื่องสาย Fiber Optic

Last Update: 14:41:40 06/08/2013
Page View (2180)

สาย Fiber Optic

 
     สาย Fiber Optic คือเส้นใยแก้วนำแสง กล่าวคือ สายนำสัญญาณที่ใช้แสงเป็นตัวกลางในการ
สื่อสารข้อมูลจากจุดหนี่งไปยังอีกจุดหนึ่ง โดยทำจากแก้วที่มีความบริสุทธิ์มาก เส้นใยแก้วนำแสงที่ดี
ต้องสามารถนำสัญญาณแสงจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่งโดยมีการสูญเสียของสัญญาณแสงน้อยที่สุด

     โครงสร้างของสาย Fiber Optic
     1. เส้นแก้ว (Core) เป็นตัวที่นำสัญญาณแสง จะมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 62.5/125 um, 50/125
         um, 9/125 um
     2. ฉนวนเคลือบ (Cladding) เป็นสารที่ใช้ในการเคลือบแก้ว (Core) เพื่อให้นำสัญญาณได้ กล่าว
         คือแสงที่ถูกส่งไปในแกนแก้วจะถูกขังหรือเคลื่อนที่ไปตามสายไฟเบอร์ด้วยขบวนการสะท้อน
         กลับของแสง นิยมเคลือบจนมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 125 um
     3. ฉนวนป้องกัน (Coating) เป็นเสมือนผนังของเส้นแก้วเป็นชั้นที่ต่อจาก Cladding เพื่อให้
         ปลอดภัยขึ้น และใช้ป้องกันแสงจากภายนอกไม่ให้เข้ามาภายในเส้นไฟเบอร์ มีเส้นผ่าศูนย์กลาง
         250 um 
     4. ปลอกสาย (Buffer) เป็นเสมือนปลอกของสายหรือเสื้อชั้นในที่หุ้มป้องกันสาย และยังช่วยให้
         การโค้งงอของสายไฟเบอร์มีความยืดหยุ่นมากขึ้น มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 900 um
         (Buffer Tube)
     5. ปลอกหุ้ม (Jacket) เป็นเสมือนเสื้อชั้นนอกสุดของสายไฟเบอร์ที่ให้เกิดความเรียบร้อย และทำ
         หน้าที่ป้องกันสายไฟเบอร์เป็นชั้นนอกสุดชนิดของ Jacket จะมีหลายชนิด ขึ้นอยู่กับการใช้งาน
         ว่าเป็นสายที่เดินภายในอาคาร (Indoor) หรือเดินภายนอกอาคาร (Outdoor)

     สาย Fiber Optic แบ่งออกเป็น 2 แบบ
     1. Single Mode (SM) มีเส้นผ่าศูนย์กลางของ Core และ Cladding 9/125 um ตามลำดับ ซึ่ง
         ส่วนของแกนแก้วจะมีขนาดเล็กมากและจะให้แสงออกมาเพียง Mode เดียว แสงที่ใช้จะต้องเป็น
         เส้นตรง ข้อดีทำให้ส่งสัญญาณได้ไกล
     2. Multi Mode (MM) จะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของ Core และ Cladding 62/125 um และ
         50/125 um ตามลำดับ เนื่องจากขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของแกนมีขนาดใหญ่ ทำให้แนวแสงเกิด
         ขึ้นหลายโหมด โดยแต่ละ Mode จะมีระยะเวลาในการเดินทางที่แตกต่างกัน อันเป็นสาเหตุที่ทำให้
         เกิดการกระจายของแสง (Mode Dispersion)

     สาย Fiber Optic แบ่งตามลักษณะการใช้งาน
     1. Tight Buffer เป็นสายไฟเบอร์แบบเดินภายในอาคาร (Indoor) โดยมีการหุ้มฉนวนอีกชั้นหนึ่งให้มี
         ความหนา 900 um เพื่อสะดวกในการใช้งานและป้องกันสายไฟเบอร์ในการติดตั้ง ปริมาณของ
         เส้นใยแก้วบรรจุอยู่ไม่มากนัก เช่น 4,6,8 Core ส่วนสายที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์จะมีขนาด 1
         Core ซึ่งเรียกว่า Simplex ขนาด 2 Core เรียกว่า Zip Core
     2. Loose Tube เป็นสายไฟเบอร์ที่ออกแบบมาใช้เดินภายนอกอาคาร (Outdoor) โดยการนำสายไฟ
         เบอร์มาไว้ในแท่งพลาสติก และใส่เยลกันน้ำเข้าไป เพื่อป้องกันไม่ให้สัมผัสกับแรงต่างๆ อีกทั้งยัง
         กันน้ำซึมเข้าภายในสาย สายแบบ Outdoor ยังแบ่งตามลักษณะการใช้งานได้อีกดังนี้
            2.1 Duct Cable เป็นสาย Fiber Optic แบบร้อยท่อ โครงสร้างของสายไม่มีส่วนใดเป็นตัวนำ
                  ไฟฟ้า ซึ่งจะไม่มีปัญหาเรื่องฟ้าผ่า แต่จะมีความแข้งแรงทนทานน้อย ในการติดตั้งจึงควร
                  ร้อยไปในท่อ Conduit หรือ HDPE (High-Density-Polyethylene)
            2.2 Direct Burial เป็นสาย Fiber Optic ที่ออกแบบมาให้สามารถใช้ฝังดินได้โดยไม่ต้องร้อย
                  ท่อ โดยโครงสร้างของสายจะมีส่วนของ Steel Armored เกราะ ช่วยป้องกัน และเพิ่ม
                  ความแข็งแรงให้สาย
            2.3 Figure - 8 เป็นสายไฟเบอร์ที่ใช้แขวนโยงระหว่างเสา โดยมีส่วนที่เป็นลวดสลิงทำหน้าที่รับ
                  แรงดึงและประคองสาย จึงทำให้สายมีรูปร่างหน้าตัดแบบเลข 8 จึงเรียกว่า Figure - 8
            2.4 ADSS (All Dielectric Self Support)  เป็นสายไฟเบอร์ ที่สามารถโยงระหว่างเสาได้ โดย
                  ไม่ต้องมีลวดสลิงเพื่อประคองสาย เนื่องจากโครงสร้างของสายประเภทนี้ ได้ถูกออกแบบให้
                  เป็น Double Jacket จึงทำให้มีความแข็งแรงสูง
     3. สายแบบ Indoor/Outdoor เป็นสายเคเบิลใยแก้วที่สามารถเดินได้ทั้งภายนอกและภายในอาคาร เป็น
         สายที่มีคุณสมบัติพิเศษที่เรียกว่า Low Smoke Zero Halogen (LSZH) ซึ่งเมื่อเกิดอัคคีภัย จะเกิด
         ควันน้อยและควันไม่เป็นพิษ เมื่อเทียบกับ Jacket ของสายชนิดอื่น ที่จะลามไฟง่ายและเกิดควันพิษ
         เนื่องจากการเดินสายในประเทศไทย ส่วนใหญ่จะเดินภายนอกอาคาร ด้วยสาย Outdoor แล้วเข้า
         อาคาร ซึ่งผิดมาตรฐานสากล ดังนั้นจึงควรใช้สายประเภทนี้เมื่อมีการเดินจากภายนอกเข้าสู่ภายใน




 
© 2000-2008 CopyRight by ANTHEM SECURITY SYSTEM CO.,LTD.
Tel. 02-8718700  Fax. 02-8716100  Website. http://www.anthemcctv.com
disclaimer | privacy | contact us

  Sale Login Warehouse Login Driver Login